Logo

มหาวิทยาลัยไต้หวันพัฒนาวิธีการใหม่ในการรักษาโรคพาร์กินสัน

Category: Biomedical
Posted Mar 12, 2020 15:04 (GMT +7)

ซินจู๋ ไต้หวัน--(บิสิเนสไวร์)--12 มี.ค. 2563

อัลตร้าซาวด์เป็นกระบวนการตรวจร่างกายที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีแผนจะประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคพาร์คินสัน สมองเสื่อม และโรคเบาหวาน  ทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัย National Tsing Hua University (NTHU) นำโดยรองศาสตราจารย์ Yu-Chun Lin จาก Institute of Molecular Medicine และศาสตราจารย์ Chih-kuang Yeh ของ Department of Biomedical Engineering and Environmental Sciences ได้ประสบความสำเร็จในการรักษาอาการของโรคพาร์คินสันในหนูโดยการฉีดโปรตีนเซลลูล่าร์ที่มีความไวต่อคลื่นอัลตร้าซาวด์สูงในบริเวณสมองส่วนลึกและหลังจากนั้นใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อกระตุ้นเซลล์ประสาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีมัลติมีเดีย อ่านฉบับเต็มได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/20200311005032/en/

A research team led by Yu-Chun Lin (left) and Chih-kuang Yeh of NTHU has expanded application of ultrasound to the treatment of Parkinson's disease. (Photo: National Tsing Hua University)

ทีมวิจัยนำโดย Yu-Chun Lin (ซ้าย) และ Chih-kuang Yeh จาก NTHU ได้ขยายการประยุกต์ใช้อัลตราซาวด์ไปยังการรักษาโรคพาร์กินสัน (ภาพ: National Tsing Hua University)

งานวิจัยนวัตกรรมของทางมหาวิทยาลัยได้ตีพิมพ์ใน Nano Letters ฉบับเดือนมกราคมและได้จดสิทธิบัตรในไต้หวันและสหรัฐอเมริกาแล้ว

รองศาสตราจารย์ Lin ได้พยายามค้นหาวิธีการควบคุมการทำงานของเซลล์ที่ปลอดภัยและไม่รุกรานมาเป็นเวลานาน  แม้ว่าคลื่นแสงจะปลอดภัยแต่สามารถเจาะเข้าไปในระดับความลึกประมาณ 0.2 ซม. เท่านั้นและขาดความแม่นยำ  ในทางกลับกันคลื่นอัลตร้าซาวด์จะแทรกซึมได้ลึกถึง 15 ซม. และสามารถเล็งไปที่ส่วนที่ต้องการ  ดังนั้นความโจทย์ต่อไปคือวิธีการทำให้เซลล์ตอบสนองต่ออัลตร้าซาวด์

รองศาสตราจารย์ Lin กล่าวว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทั้งหมดมีโปรตีนความดันหูสูงที่มีชื่อว่าเพรสติน  อย่างไรก็ตามเพรสตินในร่างกายมนุษย์มีความไวต่ออัลตร้าซาวด์น้อย  ในทางกลับกันเพรสตินในปลาโลมา ปลาวาฬ และค้างคาวโซนาร์มีความไวสูงต่อคลื่นเสียงความถี่สูง  ในเปรียบเทียบลำดับโปรตีนเพรสติน Lin พบว่าสัตว์เหล่านี้มีกรดอะมิโนพิเศษ โดยได้นำมารวมตัวกันในเซลล์ของหนูเพื่อปรับเปลี่ยนโปรตีนเพรสติน  สิ่งนี้ส่งผลให้ความสามารถของเซลล์ในการรับอัลตร้าซาวด์เพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าทันที

เป้าหมายต่อไปของรองศาสตราจารย์ Lin คือการหาวิธีใช้อัลตราซาวด์ในการรักษาโรค ซึ่งเขาได้หันไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านอัลตราซาวด์ ศาสตราจารย์ Yeh ผู้ที่ได้คิดค้นวิธีการใส่ชิ้นส่วนของยีนเพรสตินในฟองอากาศขนาดเล็กซึ่งสามารถนำเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายโดยการฉีด  ทันทีที่มีการใช้อัลตร้าซาวด์ ฟองอากาศจะแตกตัวและนำชิ้นส่วนของยีนเข้าสู่เซลล์เป้าหมายเพื่อเปิดใช้งานความสามารถในการตรวจจับและตอบสนองต่ออัลตร้าซาวด์

“โรคพาร์กินสันและโรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเสื่อมสภาพและการตายของเซลล์ในสมอง  เมื่อมีการปลูกถ่ายเซลล์ที่มีชิ้นส่วนของยีนเพรสตินในพื้นที่เป้าหมายนั้นสามารถใช้อัลตราซาวนด์ในการกระตุ้นเซลล์ที่เสื่อมเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อระบบประสาทใหม่ได้" ศาสตราจารย์ Yeh กล่าว

ทางทีมงานได้จัดทำวิดีโอแสดงหนูที่เป็นโรคพาร์กินสันหยุดตัวในขณะที่ข้ามสะพานและและการที่หนูตัวเดิมนี้สามารถข้ามสะพานอย่างง่ายดายหลังจากที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์  นอกจากนี้ยังพบว่าการรักษามีผลทำให้ระดับโดปามีนในสมองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคพาร์กินสัน รองศาสตราจารย์ Lin กล่าวว่ากระบวนการเดียวกันนี้ยังสามารถใช้รักษาโรคเบาหวานด้วยการกระตุ้นเซลล์ที่ผลิตอินซูลิน

อ่านต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20200311005032/en/

ติดต่อ:

Holly Hsueh
(886) 3-5162006
hoyu@mx.nthu.edu.tw

Distribute your news release with us

  • Print

    unique advertising solution

    Our media lists include news desks at all leading Thai and English-language dailies.

  • Radio & TV

    reliable platform

    We deliver your news to leading Thai radio stations and TV channels.

  • Internet Sites

    cloud computing

    All releases are submitted to Internet news sites, including several with guaranteed pickup.

Our Self-Serve News Release Couldn't Be Simpler

Our streamlined online process makes it simple and fast to submit your news to the Thai media. Once registered, just enter or copy your text into our submission form and you'll see an instant preview with our fee based on the word count, translation, and any attached image. To confirm submission, hit Enter to be taken to our payment processor. Once payment is approved, your release passes automatically to our news desk for translation and dissemination by our skilled and experienced team. You'll be kept informed at each step of the process.