Logo

ข้อมูลเชิงลึกจาก FICO ระบุว่า เกือบ 3 ใน 4 ของคนไทยมีรายได้ลดลงเนื่องจากโรคระบาด หลายคนจะเปลี่ยนไปใช้ธนาคารที่มอบข้อเสนอที่ดีกว่าในปี 2565

Category: Finance
Posted Jul 19, 2022 09:19 (GMT +7)

ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนธนาคารในปี 2565 สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง

กรุงเทพมหานคร--(BUSINESS WIRE)--19 กรกฎาคม 2565

FICO (NYSE: FICO)

ประเด็นสำคัญ

  • 70% (เกือบ 3 ใน 4) ของลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทยได้รับผลกระทบเชิงลบด้านรายได้เนื่องจากโรคระบาด
  • ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเงินที่ไม่แน่นอน ลูกค้าธนาคารส่วนใหญ่ในประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ออมทรัพย์ (73%) และการลงทุน (66%)
  • 1 ใน 5 ของลูกค้าธนาคารไทยที่มีกำลังซื้อสูงจะเปลี่ยนไปใช้ธนาคารอื่นที่มอบข้อเสนอด้านการเงินที่ดีที่สุด

รายงานการคาดการณ์ด้านธนาคารสำหรับลูกค้าหลังเกิดโรคระบาดปี 2565 ของ RFI Global ซึ่งจัดทำให้กับ FICO ยืนยันว่าการแพร่ระบาดได้สร้างความลำบากทางการเงินแก่กลุ่มลูกค้ารายย่อยในประเทศไทย โดยเกือบ 3 ใน 4 ของลูกค้าประสบปัญหารายได้ลดลง นอกจากนี้ยังเปิดเผยว่า ลูกค้าหลายคนมีแรงจูงใจในการมองหาข้อเสนอด้านการเงินที่ดีกว่า และแนวโน้มการเปลี่ยนสถาบันสำหรับกู้เงินก็เพิ่มขึ้นทุกปีอีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.fico.com/en/how-banking-expectations-asia-pacific-are-changing-post-pandemic

ผลกระทบที่สร้างการเปลี่ยนแปลงจากโรคระบาดแตกต่างกันไปทั่วทั้งภูมิภาค

ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามชาวนิวซีแลนด์และออสเตรเลียจำนวน 23-30% ได้รับผลกระทบเชิงลบด้านรายได้อันเนื่องมาจากโรคระบาด แต่ตัวเลขนี้กลับสูงขึ้นเป็น 40% ในสิงคโปร์และอินเดีย 50% ในมาเลเซีย และ 63% ในอินโดนีเซีย ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยได้รับผลกระทบมากที่สุด โดย 70% ระบุว่ารายได้ของพวกเขาลดลง

รายงานเปิดเผยว่าผู้บริโภคมากกว่า 1 ใน 4 ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (27%) ได้ชะลอการผ่อนชำระเงินกู้ โดยผู้บริโภคในบางประเทศมีแนวโน้มที่จะชะลอการผ่อนชำระเงินกู้มากกว่าประเทศอื่น ๆ ขณะที่ลูกค้าธนาคารรายย่อยในประเทศไทยเกือบครึ่งหนึ่ง (47%) และเกือบ 1 ใน 3 (31%) ในอินเดียได้ชะลอการชำระคืนเงินกู้อันเป็นผลจากโรคโควิด-19 เช่นเดียวกันกับ สิงคโปร์ (12%) ออสเตรเลีย (9%) เปอร์เซ็นต์) และนิวซีแลนด์ (7%)

แม้สถานการณ์ทางการเงินจะยังไม่แน่นอน ลูกค้าธนาคารรายย่อยส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีการวางแผนที่จะคงไว้หรือเพิ่มการลงทุน (66%) โดยลูกค้าส่วนใหญ่กำลังมองหาการคงไว้หรือเพิ่มเงินออม (73%) และหลายคนจะพิจารณาเปลี่ยนผู้ให้บริการด้านการเงินในปีนี้

ลูกค้าตั้งใจที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการด้านการเงินมากขึ้น

ที่น่าแปลกคือ รายงานระบุว่าลูกค้าส่วนใหญ่พอใจกับผู้ให้บริการด้านการเงินหลักของตนมาก แต่ลูกค้าธนาคารในเอเชียแปซิฟิกมากถึง 20% ที่ตอบว่ามีแผนจะเปลี่ยนธนาคารในปี 2565 ในทางตรงกันข้าม มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขาได้เปลี่ยนธนาคารในปี 2564

แนวโน้มการเปลี่ยนผู้ให้บริการกู้เงินที่เพิ่มขึ้นนี้มีอัตราสูงสุดในกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง (หมายถึงตลาดระดับสูงหรือผู้ที่มีสินทรัพย์เพื่อการลงทุนรวมอย่างน้อย 3,000,000 บาท)

ในประเทศไทย ลูกค้าธนาคารรายย่อย 13% และลูกค้ากลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง 8% ได้เปลี่ยนธนาคารในปี 2564 ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปีนี้สำหรับกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง โดย 20% กล่าวว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยน จำนวนลูกค้าธนาคารรายย่อยมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 10% ซึ่งคิดเป็นลูกค้าธนาคารจำนวน 1 ใน 10 ราย

เหตุผลหลักที่ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกล่าวถึง ได้แก่ สถานการณ์ส่วนบุคคลที่เปลี่ยนแปลง (28%) ความต้องการที่จะรวมบัญชีทั้งหมดกับสถาบันการเงินอื่น (22%) ความต้องการในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการด้านการลงทุนและการบริหารความมั่งคั่งที่ดีขึ้น (20%) และผลตอบแทนที่จะได้รับจากสถาบันการเงินอื่น (20 เปอร์เซ็นต์)

กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบทางการเงิน

ในบรรดาลูกค้าธนาคารที่มีกำลังซื้อสูงในประเทศไทย 63% มีรายได้ลดลงเนื่องจากโรคระบาด ซึ่งน้อยกว่าลูกค้าธนาคารรายย่อยในประเทศไทย 7% ส่งผลให้กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงในประเทศจำนวน 41% ชะลอการผ่อนชำระเงินกู้ ซึ่งต่ำกว่าลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทยทั้งหมด 6%.

การชะงักงันของรายได้นี้ทำให้ชาวไทยที่มีกำลังซื้อสูงจำนวน 37% ตั้งใจที่จะลดการใช้จ่าย เช่นเดียวกับครึ่งหนึ่งของลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทย

กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะกู้ยืมมากขึ้นเมื่อเทียบกับตลาดในวงกว้าง (16% และ 8%) ขณะที่ประเทศไทย กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงมีแนวโน้มที่จะกู้ยืมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับลูกค้าธนาคารรายย่อย (11% และ 12% ตามลำดับ)

รายงานยังระบุอีกว่า 78% ของกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงในประเทศไทยเลือกที่จะคงไว้หรือเพิ่มระดับการลงทุนกับธนาคาร ซึ่งสูงกว่าตลาดธนาคารรายย่อยโดยรวมของประเทศ (66%)

ผลกระทบของโรคระบาดต่อการเปลี่ยนผู้ให้บริการธนาคาร

ลูกค้ากำลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการธนาคารเพื่อตอบรับกับผลกระทบด้านการเงินที่เกิดจากโรคระบาด

ลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทยประมาณ 3 ใน 4 จะเพิ่มหรือคงเงินออมไว้ (73%) ขณะที่ทั่วทั้งภูมิภาค ความรู้สึกในการคงไว้หรือเพิ่มเงินออมจะสูงที่สุดในนิวซีแลนด์ (94%) และในอินโดนีเซีย (87%)

แม้ว่าแผนกู้ยืมเงินจะลดลงทุกปี แต่ระดับการกู้ยืมสำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อยในเอเชียแปซิฟิกยังคงสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด เนื่องจากผู้บริโภคต้องรับมือกับผลกระทบที่ยืดเยื้อจากการชะงักงันดังกล่าว

Aashish Sharma ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโซลูชันการจัดการการตัดสินใจของ FICO ในเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "โรคระบาดได้สร้างความยากลำบากด้านการเงินให้กับลูกค้าอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะมีรายได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมีการทำสัญญากู้ยืมเงินและการใช้จ่าย ลูกค้าจึงมองหาหนทางที่จะเพิ่มความมั่นคงทางการเงินและเพิ่มเงินออม ธนาคารต้องจับจุดความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างทันท่วงที และปรับเปลี่ยนแนวทางเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลทางการเงิน ในขณะเดียวกันก็สร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีความเหมาะสมกับความสามารถในการจับจ่ายและความต้องการด้านการเงินของลูกค้า”

การมุ่งสู่ดิจิทัล

ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งของประเทศไทย (44%) ยังคงพิจารณาว่า ความใกล้ของระยะทางของสาขาและตู้เอทีเอ็มเป็นปัจจัยหลักสำหรับผู้ให้บริการหลักด้านการธนาคาร อย่างไรก็ตาม รายงานยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้บริการผ่านระบบดิจิทัลด้วย ลูกค้าธนาคารรายย่อยในเอเชียแปซิฟิกมากถึง 72% เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฟินเทคมากกว่าบริการหลักต่าง ๆ ของธนาคาร ซึ่งสูงที่สุดในมาเลเซีย (94%) และต่ำสุดในออสเตรเลีย (39%) ผู้ตอบแบบสอบถามก็เลือกฟินเทคเช่นเดียวกัน เพราะต้องการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ใช้งานง่าย และขั้นตอนการสมัครใช้งานง่ายขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2564 กับ 2562 ลูกค้าในเอเชียแปซิฟิกเริ่มหันมาสนใจช่องทางดิจิทัลมากขึ้นในทุกขั้นตอนตลอดเส้นทางการใช้งาน ได้แก่ การสอบถามและการค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้น (เพิ่มขึ้น 14%) การสอบถามเพื่อติดตามผล (เพิ่มขึ้น 15%) และแอปพลิเคชันธนาคาร (เพิ่มขึ้น 15%)

วิธีที่ธนาคารทำให้เห็นว่าลูกค้าเป็นศูนย์กลางของการดำเนินการและการตัดสินใจ

  • พลิกโฉมการดำเนินงานและการจัดเตรียมข้อมูลผ่านการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ที่ชาญฉลาดมากขึ้นและแพลตฟอร์มการบริหารจัดการจากส่วนกลาง
  • ตัดสินใจที่อิงจากข้อมูลโดยคาดการณ์ วิเคราะห์ และเพิ่มประสิทธิภาพการโต้ตอบกับลูกค้าแบบเรียลไทม์สำหรับแนวทางการจัดการความสัมพันธ์ที่อิงตามเหตุการณ์และตามโปรไฟล์
  • พัฒนาข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำเพื่อโต้ตอบและมอบข้อเสนอที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ลูกค้า
  • สร้างฝาแฝดดิจิทัล (แบบจำลองเสมือนประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับการจำลอง) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และทดสอบแนวทางและกลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมที่มีต้นทุนและความเสี่ยงต่ำ
  • มอบข้อเสนอที่เหมาะกับแต่ละบุคคลและการดำเนินการกับลูกค้าในทิศทางที่ปรับเปลี่ยนได้

Sharma กล่าวว่า “ธนาคารต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าในระดับที่ลึกและละเอียดยิ่งขึ้น ไม่เช่นนั้นก็จะเสี่ยงที่จะเสียลูกค้าให้กับคู่แข่งและผู้ให้บริการเจ้าอื่น การรักษาความพึงพอใจของลูกค้าเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป ประสบการณ์การดูแลลูกค้าจะต้องได้รับการปรับปรุงอย่างมาก การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางจะเป็นกุญแจสำคัญในการมอบประสบการณ์ที่มีความเป็นส่วนตัวสูงและรักษาลูกค้าไว้อย่างต่อเนื่อง”

ระเบียบวิธีการวิจัย

การสำรวจครั้งนี้ดำเนินการในปี 2564 โดยบริษัทวิจัยอิสระที่ปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย โดยทำการสำรวจผู้ใหญ่จำนวน 1,012 คนในประเทศไทย พร้อมด้วยลูกค้าจำนวน 12,885 คนในมาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และอินเดีย

ศึกษาเพิ่มเติมที่นี่ และ www.fico.com

เกี่ยวกับ FICO

FICO (NYSE: FICO) ขับเคลื่อนการตัดสินใจที่ช่วยให้ผู้คนและธุรกิจทั่วโลกประสบความสำเร็จ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2499 เป็นผู้บุกเบิกการใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน FICO ถือครองสิทธิบัตรเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศมากกว่า 200 รายการ ที่ช่วยเพิ่มผลกำไร ความพึงพอใจของลูกค้า และการเติบโตของธุรกิจในบริการทางการเงิน การผลิต โทรคมนาคม การดูแลสุขภาพ การค้าปลีก และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ด้านการใช้โซลูชันของ FICO ธุรกิจในกว่า 120 ประเทศทำทุกอย่างตั้งแต่ป้องกันอาชญากรรมบัตรชำระเงินจำนวน 2.6 พันล้านใบ เพื่อช่วยให้ผู้คนได้รับเครดิต และเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องบินและรถเช่าหลายล้านลำอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม

ศึกษาเพิ่มเติมที่ www.fico.com

FICO เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Fair Isaac Corporation ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ

ติดต่อ:

Neil Mirano 
RICE for FICO 
+65 3157 5680 
neil.mirano@ricecomms.com 

Saxon Shirley 
FICO 
+65 9171 0965 
saxonshirley@fico.com

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

Distribute your news release with us

  • Print

    unique advertising solution

    Our media lists include news desks at all leading Thai and English-language dailies.

  • Radio & TV

    reliable platform

    We deliver your news to leading Thai radio stations and TV channels.

  • Internet Sites

    cloud computing

    All releases are submitted to Internet news sites, including several with guaranteed pickup.

Our Self-Serve News Release Couldn't Be Simpler

Our streamlined online process makes it simple and fast to submit your news to the Thai media. Once registered, just enter or copy your text into our submission form and you'll see an instant preview with our fee based on the word count, translation, and any attached image. To confirm submission, hit Enter to be taken to our payment processor. Once payment is approved, your release passes automatically to our news desk for translation and dissemination by our skilled and experienced team. You'll be kept informed at each step of the process.

Do NOT follow this link or you will be banned from the site!